Phone: 03-312-4848 (ทร.74496)

Mobile : 093-397-1342

แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม

ทำไมน้ำทะเลจึงมีรสเค็ม

why sea salt24091

น้ำทะเลที่มีความเค็มนั้น ประกอบไปด้วย
น้ำบริสุทธิ์ร้อยละ 96.5
ส่วนอีกร้อยละ 3.5 เป็นสารประกอบอนินทรีย์ ได้แก่ เกลือแร่และธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอน พืช สาหร่าย
ส่วนสารอินทรีย์ที่สารส่วนใหญ่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน น้ำมัน นอกจากนั้นน้ำทะเลยังมีทั้งสารประกอบอื่นๆ และก๊าซที่ละลายน้ำ ได้แก่ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีประโยชน์โดยตรงต่อการสังเคราะห์แสงของพืชและการหายใจของสิ่งมีชีวิต น้ำทะเลมีปริมาตรและส่วนประกอบทางเคมีคงที่ ได้แก่ ธาตุต่างๆ มากมาย และมีปริมาณมากน้อยต่างกัน โดยมีเกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์อยู่ในปริมาณมากที่สุด ซึ่งเจ้าโซเดียมคลอไรด์ นี้เองที่เป็นสาเหตุให้น้ำทะเลมีรสเค็ม นอกจากนั้นเป็นเกลือของแมกนีเซียมและซัลเฟต ฯลฯ แต่ถึงแม้น้ำทะเลจะเค็มอย่างไรก็ตามมนุษย์สามารถเอาชนะธรรมชาติได้

โดยวิธีการทำน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืดนั้นมี 2 วิธี

# วิธีแรก เป็นวิธีที่ง่ายมากและเป็นวิธีที่ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางนิยมใช้กัน เพราะประเทศในแถบนี้ เช่น บาห์เรน อิรัค คูเวต จอร์แดน และอีกหลายประเทศ ซึ่งมีน้ำน้อย แต่มีน้ำมันหรือมีเงินมากนั่นเอง วิธีนี้คือ การต้มกลั่นโดยเอาน้ำทะเลมาต้มทำให้เกิดไอน้ำแล้วกลั่นไอน้ำที่ได้เป็นน้ำจืดใช้ดื่ม การทำน้ำจืดด้วยวิธีนี้มีราคาแพง เพราะน้ำกลั่นที่ได้มีราคา สูงกว่าน้ำธรรมดาประมาณ 5 เท่า

# ส่วนวิธีที่สอง ที่ถูกกว่านั้น เรียกว่า กระบวนการออสโมซิสย้อนกลับ หรือภาษาอังกฤษ เรียกว่า รีเวิส ออสโมซิส โดยคำว่า ออสโมซิส หมายถึง กระบวนการที่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตใช้ในการดูดน้ำเข้าเซลล์ การที่เซลล์ทำได้เช่นนี้ เพราะเซลล์มีเยื่อหุ้มที่เป็นสารจำพวกเซลลูโลสอะซิเตต เยื่อหุ้มนี้สามารถปล่อยให้โมเลกุลของน้ำจากภายนอกเซลล์ซึมผ่าน เข้าสู่สารละลายภายในเซลล์ได้ แต่ไม่ปล่อยให้อะตอมของโซเดียมและคลอรีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเกลือผ่านเข้าไป

ดังนั้น หากความเข้มข้นของเกลือในสารละลายที่อยู่นอกเซลล์ต่ำ น้ำจากภายนอกก็จะไหลเข้าสู่เซลล์ จนกระทั่งความเข้มข้นของเกลือทั้งภายนอกและภายในเซลล์เท่ากัน การไหลของสารละลายภายใต้เงื่อนไขที่มีความเข้มข้นแตกต่างกันแบบนี้ เรียกว่า การไหลแบบออสโมซิส และการไหลนี้สามารถย้อนกลับได้ หากสารละลายภายในเซลล์มีความดันสูง ซึ่งส่งผลให้น้ำจากภายในเซลล์สามารถไหลออกได้ แต่อะตอม ของโซเดียมและคลอรีนที่อยู่ภายใน จะไม่สามารถไหลผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ออกมาได้ ดังนั้น การไหลแบบนี้จึงเรียกว่า การไหลแบบออสโมซิสย้อนกลับ นั่นเอง

นักวิทยาศาสตร์นำวิธีการนี้ไปใช้
โดยกรองน้ำทะเลก่อน เพื่อทำน้ำทะเลให้สะอาด แล้วเติมสารเคมีลงไปเพื่อยับยั้งจุลินทรีย์ในน้ำทะเลไม่ให้เจริญเติบโต จากนั้นก็ใช้ความดันที่สูงประมาณ 67 บรรยากาศ ซึ่งเทียบกับความดันของน้ำทะเลที่ลึก 600 เมตร อัดน้ำที่ทะลุผ่านเยื่อหุ้มเข้าไปในท่อ โดยการนำเยื่อพิเศษที่ให้โมเลกุลของน้ำผ่าน แต่โมเลกุลของเกลือผ่านไม่ได้ ก็จะเป็นน้ำจืดตามที่ต้องการ

 

 

banner fish 04