Phone: 03-312-4848 (ทร.74496)

Mobile : 093-397-1342

แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม

Kohkham Clean Beach

 

393127862 887967673336129 7507959332868662930 n

สาขาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
  อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม 
 

397292912 898534282279468 2966131486612201235 n

เกาะขามขอเชิญชวนให้นักท่องเที่ยว งดนำถุงพลาสติกขึ้นบนเกาะขาม
เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ผู้มาเยี่ยมชมได้ช่วยกันลดปริมาณขยะ เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมบนเกาะให้สะอาด สวยงาม และยั่งยืน

1689972766105

Price infographic

อตราคาบรการ66

แผนผงเกาะขาม 01

Our Sceneries

banner Route

นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมอุทยานใต้ทะเลเกาะขาม โดยใช้ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 331 ผ่านสี่แยกเกษมพล สี่แยกกม.10 (รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ) ตรงไปประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตรงอาคารพักผู้โดยสารเรือเฟอร์รี่ และเดินทางด้วยเรือโดยสาร ข้ามไปยังเกาะขาม


ดูแผนที่เส้นทางไปเกาะขาม

เกาะขามแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่สัตหีบ ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาท่องเที่ยว ดำน้ำชมปะการัง ชมพันธุ์ไม้ธรรมชาติตามเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนเกาะขาม นอกจากนี้ยังมีหาดทรายสีขาวสะอาด ท้องทะเลสีเขียวใส เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อน

banner Information

  con address สำนักงานกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม ทัพเรือภาคที่ 1 ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี 20180

  con fax โทรศัพท์03-312-4848  (เฉพาะวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 น. - 11.30 น. และ 13.00 น. - 16.30 น.)
  con mobileมือถือ : 093-397-1342 (เฉพาะวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 น. - 11.30 น. และ 13.00 น. - 16.30 น.)

ทำไมน้ำทะเลจึงมีสีฟ้า

why sea blueoriginal

ทำไมน้ำทะเลต้องเป็นสีฟ้า เนื่องจากว่า วัตถุแต่ละชนิดมีการสะท้อนและดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ในแต่ละช่วงคลื่นต่างกัน ค่าการสะท้อนเชิงคลื่นของวัตถุแต่ละชิ้นนั้นเป็นลักษณะที่ใช้แยกความแตกต่างของวัตถุแต่ละชนิด เช่น ค่าการสะท้อนแสงของน้ำโดยทั่วไปจะต่ำ แต่จะมีการสะท้อนสูงที่ปลายคลื่นน้ำเงิน ซึ่งทำให้น้ำใสจะปรากฏเป็นสีน้ำเงินเข้ม

ดินจะมีค่าการสะท้อนสูงกว่าพืช ค่าการสะท้อนของดินขึ้นอยู่กับส่วนผสมของดิน ส่วนพืชจะมีค่าการสะท้อนแสงที่แตกต่างจากดินและน้ำ คือ ค่าการสะท้อนจะต่ำในช่วงคลื่นน้ำเงินและแดง ในขณะที่จะมีค่าการสะท้อนสูงที่ช่วงคลื่นเขียวและช่วงคลื่นใกล้อินฟราเรด หรือ น้ำทะเลสะท้อนแสงจากท้องฟ้า ซึ่งมีสีฟ้า และจะเห็นว่า ถ้าวันไหนเมฆเยอะ ทะเลจะสีไม่ฟ้ามากนัก และ น้ำทะเลเองก็กระเจิงแสงในทำนองเดียวกับท้องฟ้า ซึ่งเมื่อแสงกระเจิงจากอนุภาคที่ขนาดเล็กกว่าความยาวคลื่น แสงสีน้ำเงินซึ่งความยาวคลื่นต่ำจะกระเจิงได้ดีที่สุด

ในขณะที่แสงสีแดงซึ่งความยาวคลื่นมากจะกระเจิงได้น้อย ทำให้เมื่อลงไปอยู่ในน้ำทะเล ก็ยังคงเห็นน้ำเป็นสีฟ้า เพราะแสงสีน้ำเงินกระเจิงเข้าตาเรามากที่สุดนั่นเอง นอกจากนี้ ดร.ไซมอน บ็อกซอลล์ แห่งศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติ (National Oceanography Centre) ในเซาธ์แฮมตัน อธิบายว่า คลอโรฟิลล์จะดูดซับสีน้ำเงินและสีแดงจากคลื่นแสง และสะท้อนสีเขียวออกมาซึ่งก็คือสิ่งที่เราเห็นนั่นเอง ฉะนั้น ในที่ซึ่งน้ำทะเลอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแพลงก์ตอนพืช และแสงสีน้ำเงินถูกดูดซึมไปเป็นส่วนใหญ่ เราจึงจะเห็นน้ำทะเลเป็นสีเขียว แต่ในที่ซึ่งมีแพลงก์ตอนพืชน้อยกว่า และแสงสีน้ำเงินไม่ได้ถูกดูดซับไปจนหมด ทะเลจึงดูเป็นฟ้าหรือสีน้ำเงินอย่างที่เรามองเห็นกันนั้นเอง

 

 

banner fish 04